การทำงานของแทร็ปเมื่อไอน้ำเริ่มออกจากหม้อไอน้ำเข้าสู่ระบบท่อจะมีการถ่ายเทความร้อนไห้กับระบบท่อจนกว่าจะมีอุณหภูมิเท่ากับไอน้ำซึ่งน้ำที่คอนเดนเซทออกมานี้จะมีประมาณมากที่สุด เมื่อผลต่างของอุณหภูมิลดลงปริมาณไอน้ำก็จะค่อย ๆ ลดลงด้วยเราเรียกช่วงนี้ว่าช่วง ‘start-up load’ เมื่อผ่านช่วงดังกล่าวก็จะเข้าสู่ช่วงใช้งานหรือ ‘running load’
นอกจากแทร็ปจะทำหน้าที่ระบายน้ำในระบบแล้วสตีมแทร็ปบางประเภทยังทำหน้าที่ระบายอากาศหรือแก๊สออกจากระบบได้ด้วย การเลือกสตีมแทร็ปจะต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพว่าระบบต้องการความร้อนเร็วหรือช้า ถ้าอุปกรณ์ดังกล่าวทำงานได้ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดปัญหาค้อนน้ำ การกัดกร่อน และการรั่วซึม ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสียค่าใช้จ่ายอย่างมากในการบำรุงรักษา การเลือกใช้แทร็ปอย่างไม่เหมาะสมอาจไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่แทร็ปตัวนั้นแต่น้ำที่ตกค้างในระบบอาจก่อให้เกิดปัญหาที่จุดถัดไปก็ได้ ดังนั้นจึงต้องทำการตรวจสอบแทร็ปอย่างสมำเสมอ
วาล์วรูเข็ม(needle valve) เป็นอุปกรณ์หนึ่งสำหรับระบายคอนเดนเซทออกจากระบบ โดยจะเปิดให้น้ำระบายออกและปิดเมือมีไอน้ำพ่นออกมา การใช้งานแบบนี้ค่อนข้างยากในบางครั้งอาจเปิดหรี่ให้คอนเดนเซทระบายออกอย่างสม่ำเสมอ แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถคอยเปิดปิดวาล์วได้ตลอดเวลาดังนั้นส่วนใหญ่จะติดตั้งเพื่อระบายน้ำในระบบช่วงแรกที่มีปริมาณคอนเดนเซทมากหรือช่วงที่เกิด waterlogging
จากข้อเสียของการระบายคอนเดนเซทแบบวาล์วทำให้ต้องเลือกใช้สตีมแทร็ป เพื่อทำให้ระบบเกิดการสูญเสียไอน้ำจากการระบายคอนเดนเซทน้อยที่สุด หรือป้องกันการท่วมขังของน้ำในระบบ
เมื่อระบบมีการระบายน้ำคอนเดนเซทออกมาจะเกิดไอน้ำขึ้นซึ่งเราเรียกไอดังกล่าวว่า Flash Steam ตัวอย่างเช่นระบบทำงานที่ 7 bar g น้ำคอนเดนเซทจะมีอุณหภูมิ 170.5 ºC ถ้าเราระบายน้ำดังกล่าวออกจากระบบสูบรรยากาศน้ำจะเดือดที่ 100 ºC ซึ่งพลังงานส่วนเกินจะเปลี่ยนให้น้ำร้อนบางส่วนเดือดกลายเป็นไอ ถ้าระบบมีประมาณคอนเดนเซทมาก ๆ ปริมาณ flash steam ก็จะเพิ่มขึ้นซึ่งไอดังกล่าวถ้าไม่สามารถนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะก่อให้เกิดการสูญเสียพลังงานและน้ำด้วย
ขณะเริ่มเดินระบบไอน้ำแทร็ปต้องสามารถระบายอากาศออกได้จนหมด เนื่องจากไอน้ำจะไม่สามารถเข้ามาในระบบได้ถาระบบยังมีอากาศค้างอยู่ซึ่งทำให้เครื่องจักรไม่ร้อน ในบางครั้งอาจต้องติดตั้ง Air vent เพิ่มสำหรับระบบขนาดใหญ่หรือระบบที่ต้องการให้ระบายอากาศได้อย่างรวดเร็ว สำหรับสตีมแทร็บแต่ละประเภทสามารถระบายอากาศได้ไม่เหมือนกันดังนี้
Thermostatic traps | สามารถระบายอากาศได้ดีเนื่องจากหน้าวาล์วจะเปิดในตอนเริ่มต้นเดินระบบ |
Float traps | ส่วนใหญ่จะมี air vents ติดอยู่ด้วยภายในทำให้การระบายอากาศทำได้ดี |
Thermodynamic traps | การระบายอากาศทำได้แต่ไม่ดี |
Inverted bucket trap | การระบายอากาศไม่ดีเนื่องจากรูระบายเล็ก |
เมื่อระบายอากาศออกหมดระบบจะเริ่มเกิดน้ำสะสม สตีมแทร็ปจะทำหน้าที่ระบายน้ำออกจากระบบซึ่งถ้าแทร็ปมีขนาดเล็กเกินไปทำให้ไม่สามารถระบายน้ำออกจากระบบได้ทันน้ำจะท่วมอยู่ในระบบซึ่งทำให้ไอน้ำไม่สามาระเข้ามาในระบบได้ ปัญหานี้เรียกว่า water logging โดยปกติมักจะเกิดที่อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการกัดกร่อนและรั่วซึมในที่สุด
Steam Locking
สำหรับปัญหาดังกล่าวมักเจอกับการใช้งานที่ต้องต่อท่อเพื่อส่งน้ำที่ค้างด้านล่างเข้าสู่แทร็ป ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้ไม่สามารถระบายน้ำคอนเดนเซทที่เกิดขึ้นใหม่ได้ ในการแก้ปัญหาดังกล่าวอาจหาวาล์วมาติดที่ siphon pipe โดยวาล์วดังกล่าวจะเปิดเล็กน้อยเพื่อระบายไอน้ำที่ขังออกจากท่อก็ได้
ประเภทของสตีมแทร็ป
Fixed Orifice Traps
แทร็ปแบบนี้จะทำงานคล้ายกับวาล์วแต่ขนาดรูเล็กกว่าการใช้งานไม่เหมาะกับระบบที่คอนเดนเซทไม่คงที่ การเลือกใช้ถ้าให้เหมาะกับช่วงrunning load ก็จะก่อให้เกิดปัญหา waterlogging ในช่วง start-up ได้ แต่ถ้าเลือกใช้ให้เหมาะกับช่วง start-up ก็จะก่อให้เกิดการรั่วของไอน้ำในช่วงของ running load ได้เช่นเดียวกัน
Thermostatic Group
อาศัยอุณหภูมิที่แตกต่างของคอนเดนเซทและไอน้ำ โดยแทร็ปจะบรรจุแคปซูลซึ่งจะระบายน้ำคอนเดนเซทที่อุณหภูมิต่ำกว่าไอน้ำ
Balanced Pressure Type
ภายในแคปซูลจะบรรจุสารที่มีจุดเดือดต่ำกว่าน้ำ เมื่ออุณหภูมิของแคปซูลเพิ่มขึ้นสารภายในจะเดือดเกิดการขยายตัวลงมาปิดหน้าวาล์ว ดังนั้นแทร็ป ประเภทนี้จึงยอมให้อากาศและน้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของสารที่บรรจุอยู่ในแคปซูลผ่านไปได้ แรงดันไอน้ำไม่มีผลต่อการทำงานของแทร็ป เนื่องจากเมื่อแรงดันมากขึ้นจุดเดือดของสารภายในแคปซูลจะสูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
ข้อดีของแทร็ปแบบ Balanced Pressure Type คือขนาดเล็กและให้อัตราการไหลของคอนเดนเซทที่มาก นอกจากนี้แทร็ปยังสามารถระบายอากาศออกจากระบบได้เนื่องจากแทร็บจะเปิดในตอนเริ่มเดินระบบ ข้อเสียของแทร็ปประเภทนี้ก็คือไม่สามารถรับแรงกระแทกจาก waterhammer ได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดการกัดกร่อนจากน้ำคอนเดนเซทได้ด้วย ในการใช้งานจะเกิด waterlog เนื่องจากต้องรอให้น้ำลดอุณหภูมิลงต่ำกว่าจุดเดือดก่อนวาล์วจึ่งสามารถเปิดได้ การใช้งานจึงไม่เหมาะกับไอน้ำที่เป็น supperheat
เนื่องจากหน้าวาล์วจะเปิดเมื่ออุณหภูมิของน้ำต่ำกว่าจุดเดือดจึ่งมั่นใจได้ว่าไม่มีไอน้ำสูญเสียออกไปอย่างแน่นอน ซึ่งทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิด waterlog ในระบบได้ การใช้งานจะต้องเผื่อพื้นที่สำหรับเก็บน้ำส่วนนี้ในระบบด้วย บางกรณีอาจติดตั้ง cooling leg ซึ่งจะช่วยทำหน้าที่เก็บน้ำคอนเดนเซทไว้เพื่อลดอุณหภูมิของน้ำให้กับบรรยากาศรอบท่อเพื่อให้อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดโดยที่ท่อดังกล่าวไอน้ำจะไม่สามารถผ่านมาที่แทร็ปได้ ในบางกรณีที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนความร้อนน้ำคอนเดนเซทลดลงเมื่อน้ำที่ค้างอยู่ในท่อระบายออกหมดไอน้ำจะวิ่งเข้าไปแทนที่ซึ่งจะทำให้น้ำไม่สามารถเข้ามายังแทร็ปได้ และเพื่อให้การถ่ายเทความร้อนได้ดีท่อ cooling leg จึงไม่ควรหุ้มฉนวน
Bimetallic Type
วาล์วสามารถเคลื่อนได้จากการโกงงอของวัสดุสองชนิดต่างชนิดกัน เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นการขยายตัวของวัสดุทั้งสองชนิดต่างกันทำให้เกิดการโค้งงอและจะกลับมาตรงเหมือนเดิมเมื่ออุณหภูมิเย็นลง
ข้อดีของแทร็ปประเภทนี้คือให้อัตราการไหลสูง สามารถระบายอากาศออกจากระบบได้ ทนต่อ waterhammer การกัดกร่อนและ สามารถใช้ที่ superheat ส่วนข้อเสียคือไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และควรมีการต่อท่อพัก cooling leg ให้ยาวเพื่อให้น้ำเย็นตัวลงจนแทร็ปสามารถทำงานได้ เมื่อมีการปล่อยคอนเดนเซทจะมีแรงดันย้อนกลับเนื่องจาก flash steam จำนวนหนึ่งดังนั้นจึ่งต้องต่อท่อหลังแทร็ปให้ยาวก่อนที่จะเข้าสู่ท่อเมนคอนเดนเซท
Mechanical Group
อาศัยความหนาแน่นที่แตกต่างกันของคอนเดนเซทและไอน้ำ โดยแทร็ปจะมีชิ้นส่วนเคลื่อนที่เช่นลูกบอลหรือถ้วยคว่ำอยู่
Float and Lever Type
คอนเดนเซทเข้าสู่แทร็ปทำให้ลูกบอลลอยขึ้นโดยลูกบอลจะต่อเข้ากับก้านวาล์วเพื่อทำหน้าที่ปิดเปิด นอกจากนี้ส่วนใหญ่แทร็ปจะติดตั้ง Air vent ไว้ภายในด้วยเพื่อป้องกันปัญหา Air lock ทำให้คอนเดนเซทไม่สามารถไหลเข้าสู่แทร็ปได้ ถ้าวาล์วด้านล่างอุดตันตัว Air vent ก็สามารถทำหน้าที่เป็นแทร็ปได้เช่นเดียวกัน นอกจากที่กล่าวมาในบางรุ่นจะมี Steam lock release (SLR) เข้ามาติดตั้งแทน Air vent เพื่อป้องกันการเกิด steam lock และ Air lock คือเมือไอน้ำหรืออากาศเข้าสู่แทร็ปน้ำจะไม่สามารถไหลเข้ามาได้ ในบางครั้งอาจติดตั้งวาล์ว by pass ไว้แทน SLR ก็ได้โดยวาล์วจะเปิดเล็กน้อยเพื่อระบายไอน้ำหรืออากาศที่ค้างอยู่ภายใน
ข้อดีของแทร็ปคือเป็นการระบายอย่างต่อเนื่อง อัตราการไหลสูง ข้อเสียอาจเกิดความเสียหายขึ้นกับบอลได้เนื่องจากการกระแทกของนอกจากนี้การเปิดปิดที่กระทำต่อหน้าวาล์วเกิดจากแรงสองแรงได้แก่แรงดันไอภายในระบบ และแรงกดที่เกิดจากก้านวาล์วถ้าขณะเปิดแรงจากก้านวาล์วน้อยกว่าแรงดันไอจะทำให้ไม่สามารถเปิดหน้าวาล์วได้นั้นเป็นสาเหตุที่เมื่อระบบรับแรงดันเพิ่มขึ้นขนาดของรูระบายละเล็กลง
เนื่องจากการทำงานของ Float trap เป็นการระบายอย่างต่อเนื่องโดยระดับน้ำจะท่วมรูระบายเสมอดังนั้นจึ่งมั่นใจได้ว่าไอน้ำจะไม่สามารถรั่วออกจากระบบได้ สำหรับในบางรุ่นอาจมีการติดตั้ง Air vent ที่ส่วนบนของแทร็ปเพื่อทำหน้าที่ระบายอากาศออกจากแทร็บซึ่งก็มั่นใจได้ว่าไม่มีการรั่วของไอน้ำได้เช่นเดียวกัน
Inverted Bucket Type
การทำงานของแทร็ปเกิดจากการลอยของถ้วยคว่ำที่มีไอน้ำไหลเข้าไปในถ้วย ขณะเริ่มต้นเดินระบบหน้าวาล์วจะเปิดออกอากาศสามารถระบายออกจากระบบได้โดยไหลเข้าสู่ถ้วยและผ่านรูที่อยู่ด้านบนก่อนผ่านหน้าวาล์วออกไป เมื่อคอนเดนเซทเริ่มไหลเข้าสู่ถ้วยน้ำภายในจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทั้งด้านนอกและด้านในถ้วยและไหลผ่านหน้าวาล์วออกไปโดยที่ถ้วยดังกล่าวไม่ลอยขึ้นเนื่องจากไม่มีไอนำอยู่ภายในถ้วย จนเมื่อน้ำระบายหมดไอน้ำเริ่มเข้ามาแทนไอน้ำจะพุ่งเข้าสู่ถ้วยคว่ำทำให้ถ้วยดังกล่าวลอยขึ้น ขณะที่ถ้วยลอยไอน้ำบางส่วนจะรั้วออกผ่านรูด้านบนบางส่วนจะควบแน่นกลายเป็นน้ำ เมื่อไอน้ำภายในถ้วยถูกน้ำแทนที่หมดถ้วยจะจมลงทำให้หน้าวาล์วเปิดอีกครั้งหนึ่ง
ข้อดีของแทร็ปนี้ก็คือ สามารถใช้กับระบบแรงดันสูงหรือ superheat ได้ สามารถทนต่อ waterhammer ข้อเสียเนื่องจากขนาดของรูด้านบนของถ้วยมีขนาดเล็กทำให้การระบายอากาศทำได้ช้ามาก นอกจากนี้แทร็ปต้องมีน้ำค้างอยู่ภายในถ้าแทร็ปไม่มีน้ำถ้วยไม่สามารถลอยได้ไอน้ำจะรั่วออก ซึ่งปัญหานี้อาจพบได้ถ้าระบบมีการสูญเสียความดันอย่างรวดเร็วทำให้น้ำที่ค้างอยู่กลายเป็น flash steam วิ่งเข้าไปในระบบจนหมด หรือน้ำในแทร็ประเหยเนื่องจากในระบบเป็น superheat ระบบจะทำงานได้อีกทีเมื่อคอนเดนเซทไหลเข้ามาจนสามารถยกถ้วยให้หน้าวาล์วปิดได้อีกครั้ง สำหรับกรณีที่ต้องใช้กับระบบที่มีความดันขึ้นลงบ่อย ๆ แนะนำให้ติด check valve เพื่อป้องกันน้ำในแทร็ประเหยจนหมด
การทำงานของ Inverted bucket trap คลายกับ float trap คือวาล์วจะปิดถ้ามีไอน้ำเข้ามาทำให้ถ้วยลอยตัวขึ้น เมื่อไอน้ำรั่วออกผ่านรูด้านบนจะทำให้ถ้วยตกวาล์วเปิด ไอน้ำที่สะสมอยู่ด้านบนจะถูกดันออกเข้าสู่ที่คอนเดนเซท จากการทดสอบมีการสูญเสียประมาณ 0.5 kg/h สำหรับวาล์วขนาด 1/2”
Thermodynamic group
ขณะเริ่มระบบอากาศและน้ำจะไหลผ่านแทร็ป โดยดิสก์จะยกตัวขึ้นเมื่อน้ำหมดไอน้ำจะไหลผ่านแทนแต่เนื่องจากความหนาแน่นของไอน้ำน้อยกว่าน้ำทำให้ความเร็วไอที่วิ่งผ่านใต้แผ่นดิสก์มากขึ้นส่งผลให้แรงดันลดลง ดิสก์จะตกลงมาปิดวาล์วไอน้ำบางส่วนจะเคลื่อนที่ขึ้นมาที่ด้านบนของดิสก์เมื่อวาลปิดสนิทแรงดันไอที่อยู่ด้านบนจะดันดิสก์ปิดป้องกันไอน้ำออกมาเมื่อไอน้ำด้านบนเย็นตัวลงกลายเป็นน้ำปริมาตรลดลงทำให้ดิสก์ยกตัวขึ้นน้ำคอนเดนเซทจะไหลออกได้อีกครั้งหนึ่ง การที่ดิสก์ลอยขึ้นขนานกับหน้าวาล์วได้เนื่องจากรูระบายออกมี3รูทำให้เกิดการสมดุลถ้ารูระบายเกิดตันอาจทำให้ดิสก์ยกขึ้นลงไม่ขนานเกิดการติดขัดไม่สามารถปิดวาล์วได้สนิท
ข้อดีของระบบดังกล่าวคือสามารถใช้ใด้กับทุกช่วงแรงดัน น้ำหนักเบา ดูแลรักษาง่าย อัตราการไหลสูง สามารถใช้กับ superheat หรือระบบทีมี waterhammer ดิสก์ที่เป็นสแตนเลสสามารถป้องกันการกัดกร่อนได้ ข้อเสียแทร็ปทำงานไม่ได้ที่แรงดันต่ำกว่า 0.25 bar g หรือมีแรงดันย้อนกลับมากกว่า 80% แทร็ปจะสามารถระบายอากาศออกได้ในช่วงแรกแต่ถ้าระบบมีแรงดันเพิ่มขึ้นอากาศจะไหลเร็วขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหา air bind ซึ่งจะทำให้หน้าวาล์วปิดค้าง ดังนั้นจึงควรติดตั้ง Air vent ขนานกับแทร็ปเพื่อช่วยในการระบายอากาศแทน ในกรณีที่อากาศด้านนอกเย็นไอน้ำที่อยู่ส่วนบนของดิสก์จะควบแน่นเร็วทำให้เกิดการเปิดปิดเร็วขึ้นส่งผลให้อายุการใช้งานของแทร็ปลดลงการแก้ไขคือการติดตั้งฝาครอบด้านบนเพื่อปัองกันอากาศเย็นสัมผัส
การสูญเสียไอน้ำจะอยู่ที่ส่วนหัวด้านบนของแทร็ปในความเป็นจริงไอน้ำดังกล่าวเกิดจาก flash steam ดังนั้นการทำงานของแทร็ปประเภทนี้จึงนับว่าไม่มีการสูญเสียไอน้ำก็ได้ อย่างไรก็ตามในกรณีที่ไมมีโหลดเมื่อหน้าวาล์วเปิดน้ำจะไหลออกอย่างรวดเร็ว ไอน้ำบางส่วนจะไหลเข้ามาแทนที่ซึ่งเมื่อไอน้ำไหลผ่านวาล์วก็จะปิด การรั่วที่จุดนี้โดยประมาณอยู่ที่ 0.5 kg/h
การตรวจสอบสตีมแทร็ป
การตรวจสอบด้วยการดู
1. การปล่อยคอนเดนเซทออกสู่บรรยากาศ
คือการสังเกตไอน้ำขณะที่แทร็ปทำงานว่าเป็นอย่างไร (โดยปกติจะใช้กับ thermodynamic, inverted bucket และ thermostatic trap) ขณะที่แทร็ปปิดอาจสามารถสังเกตเห็นไอน้ำเล็กน้อยจาก flash steam แต่เมื่อแทร็ปเปิดเพื่อระบายคอนเดนเซทจะเกิดไอน้ำจำนวนมากจาก flash steam ซึ่งปริมาณไอน้ำที่เห็นจะมีปริมาณแตกต่างกันอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามมีแทร็ปบางประเภทที่จะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่าง (เช่น float trap) เนื่องจากการระบายคอนเดนเซทเป็นแบบต่อเนื่องจึงยากที่จะบอกได้ถึงความแตกต่างของไอน้ำที่มองเห็นยิ่งในระบบแรงดันสูงเนื่องจากเมื่อมีการระบายคอนเดนเซทออกจากระบบจะเกิด flash steam ในปริมาณมาก สำหรับผู้มีประสบการณ์ถ้าฟ้งเสียงอาจสามารถบอกได้แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่ามีการรั่วของแทร็ปหรือไม่ ในการต่อวาล์วดังรูปด้านล่างเพื่อป้องกันไอน้ำที่รั่วจากแทร็ปตัวอื่นพุ่งออกมาเนื่องจากใช้ท่อเมนร่วมกันจึงต้องติดตั้งวาล์วที่ท่อด้วยเพื่อป้องกันไอน้ำจากท่อเมนไหลมาปนกัน
2. วิธีการมองผ่าน Sight Glasses
การติดตั้ง sight glass เพื่อช่วยให้สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างคอนเดนเซทกับไอน้ำ อย่างไรก็ตาม flash steam ที่ปนออกมากับคอนเดนเซทมีปริมาณมากทำให้ความชัดเจนในการจำแนกลดน้อยลง ในการประเมินวิศวกรจะต้องมีความชำนาญทราบว่าแทร็ปแต่ละประเภทมีลักษณะการระบายน้ำคอนเดนเซอออกอย่างไร เพื่อให้การสังเกตได้งายในการติดตั้งจะติดไว้หลังแทร็ปอย่างน้อย 1 เมตร สำหรับวิธีนี้เหมาะสำหรับระบบที่มีแรงดันไม่มากนัก
ท่อคอนเดนเซทจะเดินจนถึง Feed tank ตามปกติที่ปลายท่อจะมีแต่น้ำร้อนออกมาหรือมีไอน้ำไม่มากซึ่งถ้าผิดปกติก็แสดงว่ามีแทร็ปในระบบบางตัวที่รั่ว แต่สำหรับวิธีนี้ถ้ามีการติดตั้ง header เพื่อรวบรวมคอนเดนเซทก่อนจะปั๊มกลับมาที่ feed tank ก็ไม่สามารถบอกได้เนื่องจากมีการระบายไอน้ำออกที่ตำแหน่ง header แล้วซึ่งอาจต้องไปดูที่ header แทน สำหรับวิธีดังกล่าวอาจไม่สามารถบอกได้ว่าแทร็ปตัวไดรั่วถ้าในท่อมีการระบายคอนเดนเซทหลายจุด
การตรวจสอบจากอุณหภูมิ
1. การวัดอุณหภูมิบนสตีมแทร็ป
เป็นการตรวจสอบจากการวัดอุณหภูมิของไอน้ำและน้ำคอนเดนเซทเนื่องจากแรงดันทั้งสองฝั่งของแทร็ปไม่เท่ากัน ซึ่งถ้าแทร็ปปมีการรั่วแรงดันด้านหลังแทร็ปจะเพิ่มขึ้นทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นตามไปด้วย แต่สำหรับวิธีนี้อาจผิดพลาดได้ถ้าในระบบเกิด waterlog เนื่องจากอุณหภูมิของน้ำก่อนผ่านแทร็ปจะลดลง ดังนั้นอาจใช้วิธีการวัดแรงดันแทนก็ได้
Steam pressure = 7 bar g (Saturation temperature = 170 °C)
Condensate pressure = 0.7 bar g (Saturation temperature = 115 °C)
สำหรับวิธีการที่ง่ายอีกวิธีคือการสังเกตโดนการพ่นน้ำ การทดสอบจะทำการพ่นน้ำที่ท่อด้านเข้าและออกของแทร็ปและจับเวลาดูว่าหยดน้ำใช้เวลาในการระเหยนานเท่าใด สำหรับวิธีนี้อาจไม่สามารถบอกได้ถ้าท่อด้านเข้าและออกอุณหภูมิแตกต่างกันไม่มากนอกจากนี้ยังต้องอาศัยความชำนาญของผู้สังเกตด้วย
3. การใช้ชอล์กวัดอุณหภูมิ
เป็นการตรวจสอบโดยการใช้ ชอล์กควันอุณหภูมิซึ่งชอล์กดังกล่าวจะไวต่ออุณหภูมิที่กำหนด การทดสอบจะต้องทราบก่อนว่าอุณหภูมิด้านไอน้ำมีค่าเท่าไรเพื่อเลือกใช้ชอล์กที่มีอุณหภูมิตามนั้น เมื่อได้ชอล์กจะนำมาขีดที่ท่อคอนเดนเซทถ้าแทร็ปมีการรัวอุณหภูมิท่อคอนเดนเซทเพิ่มขึ้นชอล์กจะเปลี่ยนสีจากเดิม ค่าความถูกต้องของชอล์กอยู่ที่ ± 5ºC ดังนั้นถ้าแรงดันทั้งสองฝั่งแตกต่างกันไม่มากอาจเกิดการผิดพลาดในการวิเคราะห์ได้
การตรวจสอบด้วยการฟัง
1. การใช้หูฟัง Stethoscope
หูฟังจะช่วยในการฟังเสียงและการสั่นสะเทือนขณะที่แทร็ปทำงาน การฟังดังกล่าวต้องอาศัยประสบการณ์ถึงจะสามารถสรุปได้ว่าแทร็ปตัวไดมีปัญหา อย่างไรก็ตามการสั่นสะเทือนที่จุดอื่น ๆ อาจส่งเสียงผ่านท่อมายังจุดที่ทำการฟังทำให้ไม่สามารถฟังได้อย่างชัดเจน ทำให้ในการรั่วบางครั้งอาจไม่สามารถได้ยินได้
2. การใช้เคลื่อน Ultrasonic
เป็นการอาศัย ultrasound เพื่อตรวจวัดประมาณเสียงและแรงสั่นสะเทือน
การตรวจสอบด้ายการนำไฟฟ้า
เป็นวิธีการวัดระดับน้ำก่อนเข้าสู่แทร็ปด้วยไฟฟ้าโดยอาศัยน้ำคอนเดนเซทเป็นตัวนำโดยอุปกรณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นช่องพักน้ำติดตั้งอยู่หน้าแทร็ป ซึ่งถ้ามีการรั้วของไอน้ำที่แทร็ปความร้อนในท่อดังกล่าวจะสูงขึ้นทำให้ประมาณน้ำในช่องพักลดลง ในบางกรณีอาจมีการติดตั้งเซนเซอร์วัดอุณหภูมิด้วยซึ่งช่วยในการวิเคราะห์ว่าระบบเกิด water log หรือไม่ โดยถ้าระดับน้ำยังเต็มแต่อุณหภูมิต่ำกว่าแรงดันไอน้ำแสดงว่าเกิดปัญหา water log ขึ้นในระบบ