Actuators Selection

การเลือก Actuators

1.การเลือกใช้ Mounting เนื่องจากทอร์กที่ใช้ในการเปิดปิดวาล์วไม่เท่ากันในแต่ละขนาดดังนั้นจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับ Actuators โดยอุปกรณ์ดังกล่าวต้องสามารถรองรับแรงบิดขณะใช้งานได้

2.การเลื่อกใช้หัวขับ(Actuators) จะต้องพิจารณาจากวาล์วที่ใช้ก่อนเพื่อหาว่าค่าทอร์กเท่าใดจึงจะเหมาะสมในการใช้งาน

       2.1 แรงเสียดทานระหว่าง stem กับ packing และ ball กับ seat มีผลกระทบกับแรงบิด ดังนั้นวาล์วที่เหมาะสำหรับติดหัวขับจึงควรเลือกใช้ ball และ stem ที่ทำจาก SUS เพราะมีค่าเสียดทานน้อยกว่าวัสดุอื่น ๆ

2.1.1 แรงบิดระหว่าง ball กับ seat จะเปลี่ยนไปตามวัตถุดิบที่ใช้นอกจากนี้ขนาดของ ball ยังมีผลถ้าลูกบอลมีขนาดใหญ่จะทำให้มีค่าแรงบิดสูงตามไปด้วย ความแตกต่างระหว่างความดันทั้งสองฝั่งของบอลก็มีผลต่อแรงบิดเหมือนกันคือถ้าความดันแตกต่างกันมากแรงบิดจะมีค่าสูงขึ้น ค่าแรงบิดสามารถดูได้จากสเป็คผู้ผลิตวาล์วนั้น ๆ

2.1.2 แรงบิดระหว่าง stem กับ packing ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบทีเลือกใช้รวมถึงความหนาของ packing ดังนั้นในการติดตั้ง packing จึงไม่ควรขันน๊อตแน่นเกินไป

      2.2 แรงเสียดทานอาจเพิ่มขึ้นถ้าหากวาล์วไม่มีการทำงานเป็นเวลานาน (LSST=Long Stand Still Torque)อาจเป็นเดือนหรือมากกว่านั้น อย่างไรก็ดีถ้ามีการใช้บ่อย ๆ แรง บิดที่ใช้ก็จะกลับมาที่ค่าปกติเหมือนเดิม ตามปกติควรมีการใช้งานบ่อยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว สำหรับค่าที่ต้องชดเชยสามารถเปิดดูได้จากตาราง

      2.3 แรงที่ใช้ในขณะการเปิดหรือปิด วาล์วตามปกติสามารถเปิดดูได้จากตาราง ซึ่งหลังจากเคลื่อนที่แล้วแรงบิดจะลดลงประมาณ 70%

image

ตัวอย่าง

สำหรับวาล์ว 76-ARX-64 ขนาด1” ที่ความดันแตกต่าง DP เท่ากับ 200 psig ใช้กับระบบลม มีการเปิดปิดประมาณ1ครังต่อเดือน

ตารางสเป็คของวาล์ว model 76-ARX-64 จะได้ว่า

image

จากตาราง 76-AR5-64 ที่ค่า DP 200 psig เท่ากับ 86 lb-in

จากตาราง ใช้กับระบบลม มีค่าเพิ่ม 0.5

จากตาราง การใช้งานประมาณ 1 ครั้งต่อเดือน มีค่าเพิ่ม 0.5

กำหนดให้ค่า safety factor 0.5

ดังนั้น ค่าแรงบิดเท่ากับ 86(1+0.5+0.5+0.5) = 215 lb-in

กรณีเลือกใช้หัวขับลม จากตารางสเป็คของหัวขับรุ่น DA จะได้หัวขับขนาด DA 63 โดยต้องจ่ายลมสำหรับหัวขับอย่างน้อย 60 Psi

image

กรณีเลือกใช้หัวขับไฟฟ้า จากตารางสเป็คของหัวขับรุ่น AE อาจเลือกหัวขับขนาด AE 200 ก็ได้

image